"เนื่องจากในปัจจุบันนี้ หลายๆบริษัทที่เป็นบริษัท ข้ามชาติที่มาลงทุนในประเทศไทย
นอกจากการยื่นขอรับการส่งเสริมการลง ทุนจากบีโอไอแล้ว เดี๋ยวนี้ ฝรั่งเขาฉลาดกว่าแต่ก่อน
เขามักจะมาตั้งบริษัทอยู่ในเขตปลอด อากร หรือไม่ ถ้าอยู่นอกเขต ก็จะยื่นขอจัดตั้งเองเพื่อขอใช้สิทธิเขตปลอดอากร
ที่สามารถนำเข้าส่งออกได้โดยไม่ต้อง เสียภาษีอากร
แต่ขั้นตอนการจัดตั้งเขตปลอดอากรและ สิทธิประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับ มันมีอยู่แล้ว โดยเราสามารถเข้าไปดาวน์โหลด
ได้จากเวปของกรมศุลฯ ดังนั้น เรื่องนี้จะไม่ขอพูดถึงน่ะ แต่เรามาพูดถึงการทำงานจริงๆที่เกี่ยวกับการ
ทำพิธีการเอาของเข้า หรือเอาของออกจากโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตนี้ ทั้งนำเข้า จากต่างประเทศและในประเทศ
และส่งออกทั้งต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งแต่ละอย่างมันก็มีกระบวนการทำงานของมันโดยเฉพาะ
การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้า ไปเขตปลอดอากร
1. เมื่อเราได้รับเอกสารที่แจ้งการเข้ามาของสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งเอกสารนั้น ก็จะประกอบไปด้วย Invoice, AWB or BL, packing list,
ก็จัดการเอาข้อมูลจากเอกสารเหล่านั้น มาทำใบขน ซึ่งประเภทของใบขนที่ใช้ ก็จะเป็น ประเภท 610: ใบขนสินค้าเข้าเขตปลอดอากร/เขตอุตสาหกรรมส่งออก
ใบขนควรจะเตรียมไว้ประมาณ 4 ชุด
2. ใส่เลขที่ Factory no.เลขที่ตั้งคลังสินค้า และเลขที่ผู้ประกอบการที่กรมศุลฯออกให้ เลขทั้งหมดนี้จะอยู่ในเอกสารที่เรียกว่า กศก.185
3.เมื่อเตรียมใบขนและส่งข้อมูลใบขนไป ที่ระบบกรมศุลฯเรียบร้อยแล้ว ก็นำมาเดินพิธีการตามปกติตามด่านนั้นๆขึ้นอยู่กับว่าของที่เรานำเข้า เข้ามาทางด่านไหน
4.เมื่อเคลียร์พิธีการที่ด่านต้น ทาง(สุวรรณภูมิ, ท่าเรือกรุงเทพ,ท่าเรือแหลมฉบัง) เสร็จแล้ว ถึงขั้นตอนที่ต้องนำของส่งที่โรงงาน ก่อนนำของส่งโรงงาน อย่าลืมแวะออฟฟิสของกรมศุลฯประจำด่าน
นั้นๆ เพื่อที่ท่านๆจะเช็คข้อมูลใบขนและเช็คของอีกรอบ และท่านจะเซ็นต์ว่าได้ตรวจของจนพึงพอใจเรียบร้อยแล้ว จากนั้น เราก็เอาของมาที่โรงงานได้เลย
5.การไปแวะกรมศุลฯก่อนเข้าโรงงานนี้ สำคัญมากๆเพราะไม่ใช่ว่าเจ้าหน้าดูของแล้วเซ็นต์ผ่านๆน่ะ เจ้าหน้าที่เขาจะคีย์เลขที่ใบขนของเราเข้าไปในระบบเขาด้วย ดังนั้น ข้อมูลที่กรมศุลฯต้นทางมี กรมศุลฯประจำด่านต้องมีด้วย
ไม่งั้นจะเจอข้อหาลักลอบนำเข้าน่ะจ๊ะ
6.เวลาเริ่มงานของเจ้าหน้าที่ คือ 8.30 - 16.30 น. จันทร์-ศุกร์ ถ้ามาส่งของนอกเหนือเวลานี้ รบกวนโทรมาบอกเจ้าหน้าก่อน แล้วเจ้าหน้าที่เขาจะบอกเราเองว่าเขาจะอยู่รอเซ็นต์ หรือให้เราส่งของก่อนแล้วค่อยเอาเอกสารมาให้ท่านเซ็นต์ทีหลังก็ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่แต่ละคนและแต่ละด่านนะ
7.ผู้นำเข้าต้องเก็บใบขนที่มีลาย เซ็นต์เจ้าหน้าที่ด้วยและเก็บไว้ทั้งในรูปเอกสารและในคอมฯเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีและต้องเก็บในสภาพที่พร้อมที่จะหยิบให้เจ้าที่เวลาที่เขาต้องการ ตรวจ(สำคัญมากๆ)
สำหรับพิ๊การส่งออกและพิธีการอื่นๆ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังใหม่วันหลังจ๊ะ
ได้ความรู้มากๆค่ะ
ตอบลบ